ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นิทานอีสป


ประวัติความเป็นมาของอีสป ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิทานอีสป
           อีสป เป็นชื่อของชายคนนึงที่เกิดในเมืองฟรีเยียในดินแดนที่ปัจจุบันเรียกว่าเอเซียไมเนอร์ในยุคเมื่อราวปี 620-560 ก่อน คริสตศักราชหรือก่อนสมัยพุทธกาลเล็กน้อย ซึ่งเป็นดินแดนที่ทวีปเอเชีย และยุโรป มาชนกัน และเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยของอีสป เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของบรรดาพ่อค้าวาณิช พวกทูตและ นักท่องเที่ยวรวมทั้งเป็นดินแดนที่มีการค้าทาสกันอย่างมากมายในสมัยนั้น และอีสปก็คือทาสคนหนึ่งของที่นั่น ซึ่งมีสมญาว่า Ethiop(เอธิออป) ซึ่งมีความหมายว่าตัวดำ แต่ชาวยุโรปเรียกเสียงเพี้ยนไปเป็น Aesop (อีสป) (ชื่อเอธิออปเชื่อว่ามาจากชื่อประเทศเอธิโอเปีย ต่อมาเปลี่ยนเป็น อะบิสซีเนีย) แต่บางตำนานบอกว่าอีสปอาจจะมาจากเมืองเทรซ ไพรเกียเอธิโอเปีย ซามอส เอเธนส์ หรือเมืองซาร์ดิส ซึ่งไม่มีใครรู้แน่นอน 

            ซึ่งเดิมทีนั้นอีสปเป็นทาสอยู่ที่เมืองซามอส (Samos) ประเทศกรีซ อิดมอนหรือเอียดม็อน คือเจ้านายของอีสป ได้ี่ให้อีสปเป็นครูสอนหนังสือลูกๆของเขา บ้านของอิดมอนเป็นที่พบปะสังสรรค์กันในหมู่บุคคลสำคัญของกรีก อีสปจึงมีโอกาสได้พบเห็นและรู้จักกับบุคคลเหล่านั้น ซึ่งอีสปมีความสามารถพิเศษ สังเกตรู้ได้ด้วยวิจารณาญของเขาว่า ใครเป็นคนอย่างไร และอิมมอนได้รู้ในความพิเศษของเขามักจะนำอีสปไปด้วยเสมอเมื่อไปพบกับคนใหญ่คนโตของกรีก และอีสปได้เล่านิทานให้พวกเขาเหล่านั้นฟัง ซึ่งทำให้เป็นที่ชื่นชอบของทุกคน ที่ได้ฟังเรื่องเล่าของอีสป 


            ในประวัติเล่าว่า อีสปนั้นมีรูปร่างที่อัปลักษณ์ผิดมนุษย์ คือ จมูกบี้ ปากแบะ ลิ้นคับปาก หลังงุ้ม ผิวดำมืด อีสปมักจะพูดเสียงอยู่ในลำคอ ไม่ค่อยมีใครฟังได้ยินว่าเขากล่าวว่าอะไร แต่ภูมิปัญญาของเขานั้นล้ำเลิศนัก โดย แต่ผู้ที่ได้ฟังนิทานจากอีสปมักติดอกติดใจในเนื้อหา ข้อคิด คติเตือนใจ ด้วยเหตุนี้คนสำคัญๆของกรีก มักจะเชิญอีสปเป็นแขกให้ไปเล่านิทานให้ฟังอยู่เสมอๆ ต่อมาเมื่อนายของเขาคืออิดมอนได้ให้อิสระภาพแก่อีสป อีสปก็ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในวังของกษัตริย์ครีซุส ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยมหาศาล ทำให้อีสปได้พบกับรัฐบุรุษของเอเธนส์และนักปราชญ์ผู้รอบรู้ต่างๆมากมาย โดยเฉพาะนักปราชญ์ที่ชื่อ โซลอน


             บางตำนานบอกว่าอีสปเคยเข้าไปอยู่ในสำนักของโซมอล ซึ่งเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงมาก โซลอนเป็นญาติของปีซัสเตรตัส ผู้ปกครองแห่งเอเธนส์ ซึ่งชาวเมืองคิดจะขับไล่ออกจากตำแหน่งเจ้าเมือง เพราะเห็นว่าปิซัสเตรตัสปกครองประชาชนโดยใช้อำนาจกดขี่ข่มเห่งประชาชน ซึ่งอีสปเองได้เล่านิทานเรื่อง “กบเลือกนาย" เพื่อให้กับประชาชนชาวเอเธนส์ฟัง ทำให้ชาวเมืองเลื่อมใสการปกครองของปิซัสเตรตัสได้สำเร็จ นอกจากนั้นอีสปยังได้เล่านิทานอุปไมยหลายๆเรื่อง ณ สำนักของโซมอลแห่งนี้

              นิทานอีสป นิทานอีสป ของอีสปได้เค้าโครงมากจาก หลายๆที่โดยเป็นเรื่องเล่าเก่าๆของอินเดีย อาระเบีย กรีก เปอร์เซียและดินแดนอื่นๆ โดยอีสปนำมาดัดแปลงเล่าใหม่ นิทานอีสปเป็นนิทานที่เล่าปากเปล่าไม่มีการจัดบันทึกเป็นหลักฐาน แต่ต่อมามีผู้บันทึกเอาไว้ เช่นหลักฐานของแผ่นปาปิรัสอียิปต์โบราณ เป็นต้น


             ซึ่งผู้ที่บันทึกและรวบรวมไว้ คือ ฟีดรัส ทาสชาวมาซีโดเนียนในยุคจักรพรรดิออกุสตุส จักรวรรดิแรกแห่งโรมัน ได้เป็นผู้หนึ่งที่รวบรวมเรื่องราวของนิทานอีสปเอาไว้เป็นภาษาลาติน บางตำนานบอกว่าชาวกรีกผู้หนึ่งชื่อว่า เดมิตริอุส ได้รวบรวมนิทานอีสปโดยเขียนเป็นหนังสือไว้เมื่อราว 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมามีผู้เขียนขึ้นใหม่อีกหลายคน จนพระที่ชื่อมาซิมุล พลานูด ได้แปลนิทานอีสปจากภาษาลาตินเป็นภาษาอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1400 ต่อมาชนชาติอื่นได้นำนิทานอีสปมาแปลเป็นของชนชาติตน แต่คงคติคำสอน และข้อคิดอันเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องยังคงได้รับการรักษาเอาไว้ได้อย่างดีเยี่ยม


นิทานอีสป คือ
          นิทานอีสป เป็นเรื่องสั้นซึ่งให้คติคำสอน โดยการสอดแทรกศีลธรรมและสอนบทเรียนให้แก่เด็กๆ รูปแบบการนำเสนอน่าสนใจสำหรับเด็กและเนื้อเรื่องมักจะมีอารมณ์ดี และสนุกสนาน และเป็นเรื่องเล่าที่เล่าต่อๆ กันมาเป็นตำนาน

ตัวละครของ นิทานอีสป

           ตัวละครของนิทานอีสป มักจะเป็นสัตว์ที่เป็นตัวชูโรงโดยสัตว์จะกระทำและพูดคุยเหมือนคน แต่ว่าจะรักษาลักษณะของสัตว์ชนิดนั้นๆไว้ เช่น เสือดุร้าย ลาโง่เขลาเชื่องช้า หมาป่าเจ้าเล่ห์

ลักษณะเด่นของ นิทานอีสป

           นิทานอีสป เป็นเรื่องราวที่มีชื่อเสียงและให้ความบันเทิงที่ดีสำหรับเด็ก นิทานหรือเรื่องราวทั้งหมดที่สั้นมากๆเพื่อให้เด็กมีความสนใจ และมีสัตว์เป็นตัวเอกของเรื่องซึ่งสัตว์ที่รักของเด็กๆ

การเปรียบเทียบของนิทานอีสป

           ตัวละครส่วนใหญ่ของอีสปเป็นสัตว์ เขาเปรียบเทียบให้ หมาจิ้งจอก มักจะหมายถึงคนเจ้าเล่ห์ สิงโตหรือราชสีห์ มักจะหมายถึงหรือเป็นตัวแทนของผู้มีอำนาจ คนบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ผู้ปกครอง หนููหมายถึงผู้ต่ำต้อย ลา มักจะหมายถึงผู้ที่ด้อยสติปัญญา เป็นต้น

ตัวอย่างนิทานอีสป




  




ที่มา : http://นิทานอีสป.rakjung.com/